Last updated: 15 ก.ค. 2560 | 2447 จำนวนผู้เข้าชม |
รายละเอียดในการตรวจสอบ
2.1 รายละเอียดที่ต้องตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบ และทำรายงานการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคาร ดังต่อไปนี้
2.1.1 การตรวจสอบตัวอาคาร ให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
- การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
- การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
- การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
- การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
- การชำรุดสึกหรอของอาคาร
- การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
- การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
2.1.2 การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคาร
2.1.2.1 ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
- ระบบลิฟต์
- ระบบบันไดเลื่อน
- ระบบไฟฟ้า
- ระบบปรับอากาศ
2.5.2 ระบบบันไดเลื่อน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบของบันไดเลื่อน
- ตรวจสอบการทำงานของบันไดเลื่อน
- ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.5.3 ระบบไฟฟ้า
2.5.3.1 ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบด้วยสายตา เครื่องมือ หรือ เครื่องวัดชนิดพกพา ทำ รายงานและประเมินระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนี้
- สภาพสายไฟฟ้า ขนาดกระแสของสาย จุดต่อสาย และอุณหภูมิขั้วต่อสาย
- ท่อร้อยสาย รางเดินสาย และรางเคเบิล
- ขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินและพิกัดตัดกระแสของบริภัณฑ์ประธานแผงย่อย และแผงวงจรย่อย
- เครื่องตัดไฟรั่ว
- การต่อลงดินของบริภัณฑ์ ขนาดตัวนำต่อลงดิน และความต่อเนื่องลงดินของท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล
- รายการอื่นตามตารางรายการตรวจสอบ
2.5.3.2 ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะ ดังนี้
- วัดหรือทดสอบแผงสวิตซ์ ที่ต้องให้สายวัดสัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่แผงสวิตซ์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่
- ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
- ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝาแผงสวิตซ์ แผงควบคุม เพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์
2.5.4 ระบบปรับอากาศ
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบด้วยสายตา เครื่องมือ หรือ เครื่องชนิดพกพา ทำรายงาน และประเมิน ระบบปรับอากาศ ดังนี้
- อุปกรณ์เครื่องเป่าลมเย็น (AHU)
- สภาพทางกายภาพของเครื่องเป่าลมเย็น
- สภาพการกระจายลมเย็นที่เกิดขึ้น
- ระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ
- สภาพของอุปกรณ์และระบบควบคุม
2.6 ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบด้วยสายตา เครื่องมือ และ เครื่องวัดชนิดพกพา ทำรายงานและประเมินระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้งนี้
- สภาพทางกายภาพและการทำงานของเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย ระบบระบายอากาศ และระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
- ความสะอาดของถังเก็บน้ำประปา
2.7 ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบด้วยสายตา ทำรายงานและประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้
2.7.1 บันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ เครื่องหมาย และไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่น ตลับเมตร เป็นต้น โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบสภาพราวจับ และราวกันตก
- ตรวจสอบความส่องสว่างของแสงไฟ บนเส้นทาง
- ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ตลอดเส้นทางจนถึงเส้นทางออกสู่ภายนอกอาคาร
- ตรวจสอบการปิด-เปิดประตู ตลอดเส้นทาง
- ตรวจสอบป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์
2.7.2 ระบบระบายควัน และควบคุมการแพร่กระจายควัน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบและทดสอบด้วยสายตา พร้อมเครื่องมือวัดพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ พร้อมระบบอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน
- ทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้ได้ทันที เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ รวมทั้งสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงักขณะเกิดเพลิงไหม้
- การรั่วไหลของอากาศภายในช่องบันไดแบบปิดทึบ ที่มีระบบพัดลมอัดอากาศ รวมทั้งการออกแรงผลักประตูเข้าบันได ขณะพัดลมอัดอากาศทำงาน
- ตรวจสอบช่องเปิด เพื่อการระบายควันจากช่องบันไดและอาคาร รวมถึงช่องลมเข้าเพื่อเติมอากาศเข้ามาแทนที่ด้วย
- ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.7.3 ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่ เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์
- ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ และปริมาณน้ำมันที่สำรองไว้
- ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ
- ตรวจสอบการระบายอากาศ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน
- ตรวจสอบวงจรระบบจ่ายไฟฟ้า ให้แก่อุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิต และที่สำคัญอื่นๆ ว่ามีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าดี ขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร
- ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.7.4 ระบบลิฟต์ดับเพลิง
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบตามเกณฑ์ทั่วไปของลิฟต์
- ตรวจสอบสภาพโถงปลอดควันไฟ รวมทั้งช่วงเปิดต่างๆ และประตู
- ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยต่างๆ ภายในโถงปลอดควันไฟ
- ตรวจสอบการป้องกันน้ำไหลลงสู่ช่องลิฟต์
- ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ดับเพลิง รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการทำงานของระบบอัดอากาศ (ถ้ามี)
2.7.5 ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ในแต่ละห้อง/พื้นที่ ครอบคลุมครบถ้วน
- ตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ, อุปกรณ์แจ้งเหตุต่างๆ ครอบคลุมครบถ้วน ตำแหน่งของแผงควบคุมและแผงแสดงผลเพลิงไหม้
- ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบฉุกเฉินต่างๆ ที่ใช้สัญญาณกระตุ้นระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ตรวจสอบความพร้อมในการแจ้งเหตุ ทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ตรวจสอบขั้นตอนการแจ้งเหตุอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน
- ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุม
- ตรวจสอบการแสดงผลของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.7.6 ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดังเพลิง ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและหัวฉีดน้ำดับเพลิง และ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
- ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์และระบบดับเพลิง ในแต่ละห้อง/พื้นที่ และครอบคลุมครบถ้วน
- ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และระบบทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ รวมความพร้อมใช้งานตลอดเวลา
- ตรวจสอบการทำงานอุปกรณ์ระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสารดับเพลิง อาทิ การแจ้งเหตุ การเปิด-ปิดลิ้นกั้นไฟ หรือ ควัน เป็นต้น
- ตรวจสอบขั้นตอนการดับเพลิงแบบอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน
- ตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดของแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุมแหล่งน้ำดับเพลิง ถังสารดับเพลิง
- ตรวจสอบความดันน้ำ และการไหลของน้ำ ในจุดที่ไกลหรือสูงที่สุด
- ตรวจสอบการแสดงผลของระบบดับเพลิง
- ตรวจการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.7.7 ระบบป้องกันฟ้าผ่า
- ตรวจสอบระบบตัวนำล่อฟ้า ตัวนำล่อลงดิน ครอบคลุมครบถ้วน
- ตรวจสอบระบบรากสายดิน
- ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์
- ตรวจสอบ การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.7.8 แบบแปลนอาคารเพื่อการดับเพลิง
- ตรวจสอบแบบแปลนของอาคาร เพื่อใช้สำหรับการดับเพลิง
- ตำแหน่งที่เก็บแบบแปลน
GME Building Inspector
www.gmcworkshop.com
22 มิ.ย. 2560
22 มิ.ย. 2560